Posted on 4 เมษายน 2024 วันต่อต้านการค้ามนุษย์ “5 มิถุนายน” วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็น ‘วันต่อต้านการค้ามนุษย์’ เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ ว่าเป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง Share:
Posted on 4 เมษายน 2024 Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ “มิถุนายน” Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ “มิถุนายน” Pride Month เทศกาลไพรด์ ของ LGBTQ+ การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับ กลุ่ม LGBTQ+ นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป และเทศกาลที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ ก็คือหนึ่งในการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคม ในเดือนมิถุนายนของทุกปีในหลายประเทศจะมีการจัดงานของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่เราเรียกกันว่า เป็นเดือนแห่ง เทศกาลไพรด์ หรือ Pride Month โดยมีกจะมีการเดินพาเหรดที่เรียกว่า LGBTQ Parades หรือ ไพรด์พาเหรด (Pride Parade) เป็นเทศกาลที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก จัดเต็ม โบกธงสีรุ้งให้สะบัด เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของชาว LQBTQ+ ทั่วโลก LGBTQ+ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยใช้อักษรย่อดังนี้L : Lesbian เลสเบี้ยน คือ ผู้หญิงที่รักผู้หญิงG : Gay เกย์ คือ ผู้ชายที่รักผู้ชายB : Bisexual ไบเซ็กชวล คือ ความรักของชายหรือหญิง กับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้T : Transgender ทรานส์เจนเดอร์ คือคนที่เปลี่ยนเพศของตัวเอง ไปเป็นเพศตรงข้ามQ : Queer เควียร์ คือ คนที่ไม่จำกัดเพศใดๆ โดยไม่เกี่ยวกับเพศสภาพPlus (+) คือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกเหนือจาก LGBTQ ความหมายของ ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ในงานไพรด์ สีแดง : การต่อสู้ หรือ ชีวิตสีส้ม : การเยียวยาสีเหลือง : พระอาทิตย์สีเขียว : ธรรมชาติสีฟ้า สีคราม : ศิลปะ ความผสานกลมกลืนสีม่วง : จิตวิญญาณของ LGBTQ Share:
Posted on 4 เมษายน 2024 วันครอบครัว “14 เมษายน” วันครอบครัว ตรงกับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันครอบครัว” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และความสุขในครอบครัวมากที่สุด เพราะสถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตของผู้คน ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขก็ถือว่าเป็นความเข้มแข็งของชุมชน หมู่บ้าน สังคมด้วยเช่นกัน สืบเนื่องจากคนไทยสมัยก่อนจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ประกอบด้วย พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ รวมกันอยู่ในบริเวณบ้านเดียวกัน ความใหญ่เล็กของบ้านขึ้นอยู่กับจำนวนคน และต่อเติมขนาดของบ้านเรื่อยไปตามจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ถึงเทศกาลก็ทำข้าวของอาหารไปทำบุญที่วัดใกล้บ้าน ญาติพี่น้องจะเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือกัน ข้าวของอาหารที่เหลือก็จะแบ่งปันแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ด้วยวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูกและครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดยสะดวก จึงให้ถือโอกาสเดียวกันนี้เป็นวันแห่งการรวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ตลอดจนการขอพรผู้ใหญ่ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา Share:
Posted on 4 เมษายน 2024 วันผู้สูงอายุแห่งชาติ “13 เมษายน” วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ตรงกับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี) “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นวันที่ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือก็คือวันสงกรานต์ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพของตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้สูงอายุตอนต้น คือบุคคลที่มีอายุ ๖๐ – ๖๙ ปีทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือบุคคลที่มีอายุ ๗๐ ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง โดยใช้ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและมีดอกสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่ายเหมือนกับผู้ทรงชัยวุฒิที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป สังคมไทยในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุมากขึ้นและมีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อสร้างค่านิยมของสังคมไทยที่สำคัญต่อการเคารพผู้สูงวัย ร่วมปฏิบัติต่อท่านด้วยความรักความเอื้ออาทรทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางสังคมพร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและครอบครัวห่วงใยใส่ใจในสุขภาพของทั้งตนเองและคนรอบข้าง โดยทั่วไปแล้วในวันผู้สูงอายุแห่งชาติจะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร มอบของขวัญและขอพรจากผู้สูงอายุตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆจะมีการให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการต่างๆ เช่น ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT ได้ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษด้วยการให้ผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินได้ฟรี ๑๘ สถานี ตั้งแต่เวลา ๖.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. ส่วนทางรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงค์ก็เช่นกัน สำหรับผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีชึ้นไป สามารถโดยสารรถไฟฟรีด้วยเช่นกัน เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ก่อนใช้บริการเท่านั้น สำหรับสังคมไทยเราซึ่งยังคงเป็นสังคมที่มีลักษณะการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยเพราะความเร่งรีบในการแข่งขันกันในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องงาน การเป็นอยู่ การศึกษา ทำให้สังคมเมืองหรือสังคมใหญ่ๆในชนบทที่เคยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่แตกกระจายออกไปใช้ชีวิตอยู่กันแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คืออยู่กันเฉพาะพ่อ แม่ และ ลูกเท่านั้น ส่วนผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ในวัยหลังเกษียนหรือ ปู่ ย่า ตา ยายก็จะถูกทิ้งให้อยู่กันตามลำพัง บุคคลเหล่านี้เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวัยท้ายของชีวิต เป็นช่วงที่ควรได้รับการช่วยเหลือประคับประคองจากสังคมจากคนใกล้ชิดหรือจากลูกหลาน ซึ่งสังคมไทยเรานั้นมีวัฒนธรรมในการดูแลพ่อ แม่ ญาติ หรือผู้สูงอายุอยู่ก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปย่อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องในโอกาสวันผู้สูงอายุซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงขอเชิญชวนบุตรหลานได้ใช้ช่วงเวลาพิเศษในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีวันหยุดยาวได้กลับไปเยี่ยมพ่อ แม่ ญาติผู้สูงอายุซึ่งรอท่านอยู่ที่บ้าน กลับไปกอดท่านบอกรักท่านด้วยความกตัญญู ร่วมกันทำบุญตักบาตร รดน้ำขอพรเพื่อให้ความรักและความกตัญญูนี้เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะที่เติมเต็มพลังให้เราต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตและผ่านพ้นมันไปได้ด้วยรอยยิ้มและกำลังใจอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว Share:
Posted on 4 เมษายน 2024 วันสตรีสากล “8 มีนาคม” วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ “คลาร่า เซทคิน” (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ “คลาร่า เซทคิน” และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่า Share:
Posted on 4 เมษายน 2024 ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายเพื่อเข้ารับรางวัล”เครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” Click here Share:
Posted on 30 มีนาคม 2024 ”ดร.ยุทธพล“ จัด “มหัศจรรย์วันปิดเทอม ให้ทุกวันเป็นวันของเด็ก”ส่ง-สภาเด็กฯขึ้น“พะเนินทุ่ง”-“ชั่งหัวมัน” สัมผัสธรรมชาติ รักษ์ป่า วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 9.30 น. ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “มหัศจรรย์วันปิดเทอมให้ทุกวันเป็นวันของเด็ก” Magichild Fest Everyday is Children’s day ซึ่งจัดการทัศนศึกษา ให้แก่เด็กและเยาวชน ของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2567 ณ เขาพะเนินทุ่ง อำเภอแก่งกระจานและโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี เครือข่ายสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเพชรบุรีเข้าร่วมจำนวน 50 คน จากความคิดริเริ่มของ ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่น้องๆสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเพชรบุรีให้ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม สร้างประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ศึกษาและสัมผัสใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่าแก่งกระกระจานซึ่งเป็นมรดกโลก รวมถึงสร้างการตระหนัก การรับรู้โครงการพระราชดำริในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นต้นทุนในการพัฒนาตนเองและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมต่อไป ทั้งนี้จึงได้สนับสนุนงบประมาณส่วนตัวในการจัดทัศนศึกษาในครั้งนี้เพื่อเป็นโครงการนำร่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป Share:
Posted on 28 มีนาคม 2024 ดร.ยุทธพล ชู ‘อพม.’ ดูแล ’เปราะบาง‘ ชวนหน่วยงาน พม. เดินสายจัด ‘อพม.สัญจร’ รับฟังปัญหา-ให้กำลังใจ เดินหน้าเพื่อประชาชน วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษา ในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดโครงการ อพม.สัญจร ครั้งที่ 1/2567 ณ อำเภอชะอำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างบทบาทและพัฒนากลไกการทำงานของ อพม.ให้เกิดความเข้มแข็งและเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคและการแก้ปัญหาการทำงานของเครือข่าย อพม.ระดับอำเภอ เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภายใต้กระทรวง พม.เพชรบุรี (พม.หนึ่งเดียว) /อปท. และ อพม.อำเภอชะอำ จำนวนทั้งสิ้น 120 คน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ (1) มอบเงินอุดหนุนศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) ให้แก่ เทศบาลเมืองชะอำ จำนวน 22,800 บาท (2) มอบต้นไม้ จำนวน 120 ต้น (ต้นมะฮอกกานี,ต้นขนุน,ต้นมะค่า,ต้นใบเหลียง) ให้กับ อพม. โดยได้รับการสนับสนุนจาก ทสจ. เพชรบุรี (3) มอบเงินค่าปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 7 หลัง เป็นเงิน 106,295.- บาท (4) มอบเงินค่าปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ จำนวน 14 หลัง เป็นเงิน 480,000.- บาท ณ ห้องประชุมเมืองพริบพรี ศูนย์ฝึกอบรมที่ 3 (ชะอำ) ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี Share:
Posted on 27 มีนาคม 2024 ดร.ยุทธพล หนุนเสริมฝึกอาชีพสตรี เสื้อมัดย้อม-น้ำจุลินทรีย์ พม.-ศูนย์ฝึกอาชีพสตรี ทำต่อเนื่องขยาย Learning Center ลงทุกชุมชน วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 น. ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษา ในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมขยาย Learning Center สู่ชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ด้านสตรีและครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ และขับเคลื่อนบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย รูปแบบกิจกรรมประกอบด้วย แนะนำภารกิจของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กิจกรรมกลุ่มหัวข้อเสริมพลัง สร้างการเรียนรู้ สู่การเป็นเครือข่ายมิติงานด้านสังคมในชุมชน กิจกรรมเรียน เล่นให้รู้ (The Plean Station) ประเด็นด้านสตรีครอบครัว สิทธิบทบาทหญิงชาย ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และครอบครัวอบอุ่นอย่างเข้มแข็งด้วยหัวใจคนทุกช่วงวัยในครอบครัว และร่วมกิจกรรมทำเสื้อมัดย้อม และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง กลุ่มเป้าหมายคือสตรีและครอบครัว ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ผู้นำชุมชน และอพม. จัดโดย ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี นำทีมโดยนางสมพิศ ศรีคำแหง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. จังหวัดเพชรบุรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและร่วมกิจกรรมฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี Share:
Posted on 27 มีนาคม 2024 โครงการพลังบวร ฯ พม.เพชรบุรี ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ เพื่อนำไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 07.00 น. นางสาวจารุวรรณ เชิงชาญวิชญ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนชาวเพชรบุรี ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 15 รูป ในโครงการพลังบวร สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อนำไปช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เทศบาลตำบลหัวสะพานต่่อไป ณ วัดเขมาภิรัติการาม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานเปิด Share: